วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

พิธีวางศิลาฤกษ์

พิธีวางศิลาฤกษ์
คำกำจัดความ พิธีวางศิลาฤกษ์ คือพิธีวางแผนศิลาจารึกดวงฤกษ์ที่คำนวณว่าเป็นฤกษ์ดีที่สุดในระยะนั้น
ประวัติย่อ เป็นความเชื่อถือปฏิบัติกันมาจนเป็นประเพณี
สิ่งที่ใช้ในพิธี
ก. เครื่องใช้ในพิธีสงฆ์
(1) โต๊ะหมู่บูชา พร้อมทั้งพระพุทธรูป เครื่องตั้งและเครื่องสักการบูชา (ดอกไม้ ธูปเทียน)
(2) ครอบน้ำมนต์พร้อมด้วยหญ้าคาพรมน้ำมนต์ 1 กำ
(3) ด้ายสายสิญจน์
(4) อาสน์สงฆ์และเครื่องรับรองพระสงฆ์ (น้ำ)
(5) ไทยธรรมสำหรับถวายพระสงฆ์ในพิธี

ข. เครื่องวางศิลาฤกษ์
(1) แผ่นศิลาฤกษ์ (ทำเตรียมไว้ตามที่โหรกำหนดให้)
(2) ไม้เข็มมงคล 9 ต้น (ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์, สักทอง, ไผ่สีสุก, พยุง, ทองหลาง, กันเกรา, ทรงบันดาล หรือทรงบาดาล, ขนุน) ซึ่งพระอาจารย์อักขระไว้แล้ว
(3) ทรายเสก (ทรายที่เสกด้วยพระปริตร หรือพระพุทธมนต์)
(4) เครื่องดื่ม
(5) ทองคำเปลวประมาณ 15 แผ่น พร้อมทั้งสื่อปิดทอง
(6) อิฐทอง - นาก - เงิน อย่างละ 3 แผ่น (อิฐทาบรอนซ์ สีทอง, สีเงิน, และเทา) ถ้าใช้ 9 แผ่น วิธีอิฐตาม ผนวก ค.
(7) ตลับนพรัตน์, ลูกกันพิษกันภัย, เศษทอง, นาก, เงิน สำหรับลงก้นหลุม
(8) ข้าวตอก ดอกไม้ เมล็ดถั่ว, งาดำ
(9) ค้อน, เกรียง, ปูนซิเมนต์ผสมเสร็จแล้ว

ค. เครื่องบูชาฤกษ์ (เทวดาประจำฤกษ์)
(1) บายศรีปากชาม
(2) เครื่องมัจฉามังสะ 6 (คือ กุ้ง, ปู, ปลา, หัวหมู, เป็ด, ไก่)
(3) ขนมนมเนย
- ขนมต้มแดง, ต้มขาว
- ขนมหูช้าง
- ขนมเล็บมือนาง
- กล้วยน้ำไทย (ถ้าไม่ได้จะใช้กล้วยน้ำว้าแทนก็ได้)
- ผลไม้ต่าง ๆ
- นม, เนย
- ขนมทองหยิบ ทองหยอด, ฝอยทอง, ฯลฯ
(4) เครื่องต้อนรับเทวดา
- น้ำ 1 ที่
- หมากพลู 1 พาน
วิธีปฏิบัติ
ก. ขั้นเตรียมการ
(1) เตรียมเครื่องพิธีสงฆ์, เครื่องวางศิลาฤกษ์ และเครื่องบูชาฤกษ์ให้พร้อม
(2) เตรียมหลุมและราชวัติฉัตรธง ดังนี้ :-
- ขุดหลุมตามทิศทางที่โหรกำหนดให้ (ดูทิศการขุดคลุม)
- ขุดหลุมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 75 - 80 เซนติเมตร
- ก่ออิฐถือปูนเป็นแท่นสี่เหลี่ยมขนาดกว้างประมาณ 60 เซนติเมตร สูงประมาณ 75 - 80 เซนติเมตร สำหรับวางอิฐ ทอง - นาก - เงิน และแผ่นศิลาฤกษ์ไว้กลางหลุม
- จัดทำราชวัติฉัตรล้อมบริเวณหลุมคือ ฉัตรใหญ่ 4 ฉัตรเล็ก 8, ธง 8, ต้นกล้วย 8 ต้น, ต้นอ้อย 8 ต้น
- วางสายสิญจน์รอบบริเวณ โดยใช้สายสิญจน์จากพระพุทธรูป โยงเชื่อมไปยังเครื่องวางศิลาฤกษ์ แล้วโยงเข้าสู่ปะรำพิธี

ข. ขั้นปฏิบัติการ
(1) ก่อนฤกษ์ประมาณ 30 - 45 นาที
- ประธาน ฯ จุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย
- พิธีกร อาราธนาศีล, ประธาน ฯ และผู้เข้าร่วมพิธีตั้งใจฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
(จวนได้เวลาฤกษ์พระสงฆ์พักการสวด)
(2) ก่อนปฐมฤกษ์ประมาณ 5 - 10 นาที ประธาน ฯ กราบพระ ฯ แล้วออกไปจุดเครื่องบูชาฤกษ์ คือ จุดเทียนใหญ่ 1 คู่ และธูปเล็ก 1 กำ เพื่อปักบูชาที่เครื่องบูชาฤกษ์
(3) พิธีกร บูชาฤกษ์ (ดูบทบูชาฤกษ์)
(4) ประธาน ฯ ตั้งจิตอธิฐานนำใบเงิน ใบทอง ใบนาก 8 ใบ และเหรียญเงิน, ทองโปรยลงก้นหลุม (สมมติว่าเป็นการซื้อที่)
(5) ประธาน ฯ ปิดทองและเจิมแผ่นศิลาฤกษ์ (รอระยะจนได้ปฐมฤกษ์)
(6) ได้ฤกษ์ ประธาน ฯ ยืนหันหน้าไปทางทิศเป็นศรีของวัน (ผนวก ข.)
- ประธาน ฯ ตอดเข็มมงคล 9 ต้น ตามลำดับเป็นประทักษิณ (ดูลำดับการตอกไม้มงคล)
- พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์
(7) ประธาน ฯ วางแผ่นอิฐทอง - นาก - เงิน ตามลำดับแล้วถือปูนที่ผสมน้ำมนต์ และทรายเสกไว้ด้วยเกรียง
(8) ประธาน ฯ วางตลับนพรัตน์ลงในช่องอิฐที่ก่อไว้ แล้ววางศิลาฤกษ์ทับ
(9) ประธาน ฯ โปรยข้าวตอกดอกไม้ เหรียญเงิน เหรียญทอง ลงศิลาฤกษ์ทับ
(10) พระสงฆ์รูปหนึ่งออกมาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ และอีกรูปหนึ่งโปรยทรายเสก
(11) พระสงฆ์รับถวายไทยธรรมแล้วอนุโมทนา ประธาน ฯ กรวดน้ำและรับพร เป็นเสร็จพิธี
(12) จัดพาหนะส่งพระสงฆ์

หมายเหตุ
- คำบูชาฤกษ์ที่แนบไว้บนท้ายนี้ พิธีกร พึงเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเวลา บทที่ขาดไม่ได้คือ
1. บทมนัสการพระพุทธเจ้า (นโม 3 จบ)
2. บทชุมนุมเทวดา (สคฺเค ฯลฯ)
3. คาถาบูชาพระเกตุ (เกตุเทว ฯลฯ)
4. คาถาให้พรเจ้าภาพ
- เมื่อเสร็จพิธีบวงสรวงแล้ว จะลาเครื่องวังเวย พึงกล่าวคำลาว่า "เสสัง มังคะลัง ยาจามิ ข้าพเจ้าขอมงคลที่เหลือ" แล้วจึงยกเครื่องสังเวยนั้นไป

การตอกไม้มงคล
- ประธาน ฯ ยืนหรือนั่ง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เริ่มตอกตามผัง ดังนี้ :-
1. ไม้ชัยพฤกษ์
2. ไม้ราชพฤกษ์
3. ไม้สักทอง
4. ไม้สักไผ่สีสุก
5. ไม้พยุง (บางแห่งตอกไม้พยุงตรงกลาง (9)
6. ไม้ทองหลาง
7. ไม้กันเกรา
8. ไม้ทรงบันดาล
9. ไม้ขนุน
คำบูชาฤกษ์ บูชาเทวดา
1. บทนมัสการพระพุทธเจ้า (นโม 3 จบ)
2. บทชุมนุมเทวดา
สคฺเค กาเม จ รูเป ศิริสิขรตเฏ จนฺตลิเข วิมาน
ทีเป รฏเฐ จ คาเม ตรุวนคหเน เคหวตฺถุมฺหิ เขตฺเต
ภุมฺมา จายนฺตุ เทวา ชลถล วิสเม ยกฺขคนฺธพฺพนาคา
ติฏฺฐนฺตา สนฺติเก ยํ มุนิวรจนํ สาธโว เม สุณนตุ
ธมฺมสฺสวนกาโล อยมฺภทนฺตา
ธมฺมสฺสวนกาโล อยมฺภทนฺตา
ธมฺมสฺสวนกาโล อยมฺภทนฺตา ฯ

3. คาถาบูชาเทวดาอัฏฐทิศ
วนฺทิตฺวา อาจริยปาทํ เมสฺสการิย สมฺพินฺทยายํ สพฺพโทสํ วินสฺสตูติ สิริเทพฺพเยยฺยาวิโย ทยามํ มเหสรํ ปทวสํ วิสุทฺธเทวส สมุโพทิพฺน สงฺเคมนฺตุ มารสิทฺธิ ฯ
โอมพระภูมิ พระธรณี กรุงพาลี ตังเปยยปริวารา เอหิ สัตถายะ
อาคจฺฉนฺตุ ปริภุญชนฺตุ สวาหาย ฯ
นมามิ สิรสา นาโค ปฐวิยํ ปริหารโก
สคฺคสมฺปตฺติ สพฺพทา ฯ
ปุริมทิสํ ธตรฏโฐ มหาราชา ทิสาภาเค
เตปิ ตุมฺเห อนุรกขนฺคุ อาโรคฺเยน สุเขน จ
อาคเนยฺยสฺมึ คนฺธพฺโพ จ มหาราชา ทิสาภาเค
เตปิ ตุมฺเห อนุรกฺขนฺตุ อาโรคฺเยน สุเขน จ
ทกฺขิณสฺมึ วิรุฬหโก จ มหาราชา ทิสาภาเค
เตปิ ตุมฺเห อนุรกฺขนฺตุ อาโรคฺเยน สุเขน จ
หรติสฺมึ เทวา จ มหาราชา ทิสาภาเค
เตปิ ตุมฺเห อนุรกฺขนฺตุ อาโรคฺเยน สุเขน จ
ปจฺฉิมสมึ วิรูปกฺโข จ มหาราชา ทิสาภาเค
เตปิ ตุมฺเห อนุรกฺขนฺตุ อาโรคฺเยน สุเขน จ
พายพฺพสฺมึ นาโค จ มหาราชา ทิสาภาเค
เตปิ ตุมฺเห อนุรกฺขนฺตุ อาโรคฺเยน สุเขน จ
อุตฺตรสฺมึ กุเวโร จ มหาราชา ทิสาภาเค
เตปิ ตุมฺเห อนุรกฺขนฺตุ อาโรคฺเยน สุเขน จ
อีสานสฺมึ ยกฺขา จ มหาราชา ทิสาภาเค
เตปิ ตุมฺเห อนุรกฺขนฺตุ
อาโรคฺเยน สุเขน จ

สูปพฺยญฺชนสมฺปนฺนํ ปริภุญฺชนตุ ฯ
โอม มโน พุทฺธรตนํ สรณํ คจฺฉามิ
โอม มโน ธมฺมรรตนํ สรณํ คจฺฉามิ
โอม มโน สงฺฆรตนํ คจฺฉามิ
อุปริมสฺมึ ทิสาภาเค จตฺตาโร เทวา มหาเทวา จนฺโท จ สุริโย จ อินฺโท จ พฺรหฺมาโน จ เสยฺยถีทํ หิโต จ เทวเสฏฺโฐ จ เทวปุญฺญโก จ เอเต จตฺตาโร เทวา มหาเทวา พุทฺธปสนฺนา ธมฺมปสนฺนา สงฺฆปสนฺนา พุทฺธคารวา สมาคนฺตฺวา อาคจฺฉนตฺ ปริภุญฺชนฺตุ หิโต จ สุรกฺโข จ เทวเสฏฺโร จ เทวปุญฺญโก จ จรํ วา ฐิตํ วา ติฏฐํ วา นิสินฺนํ วา สยานํ วา รตฺตี วา ทิวํ วา สพฺพทา รกฺขนฺตุ
4. คาถาบูชาพระเกตุ
เกตุ เทวา นโม ตยตฺถุ นาคพาหนยายิโน
โย โส เกตุมหาเทโว โสวณฺณาภรณภูสิโต
สหโส ปริเวเรน อิธาคจฺฉตุ มณฺฑเล
ทสฺสนีเย มนูญฺญมฺหิ เทวารเห สุสชฺชิเต
ทีปธูเป จ ปุปฺผานิ เทวาภิมานเน อิเม
มานุสํ ขชฺชโภชฺชญฺจ เทวสํ เวสนํ อิมึ
สาธุ ดน เกตุเทโว โส ปฏิคฺคณฺหาตุ สาธุกํ
ยํ ยญฺจ กุสลํ กมฺมํ สญฺจิตํ โน ยถาพลํ
ตสฺมิมฺปิ ปุญฺญพีชมฺหิ ปตฺติโก อนุโมทตุ
อิจฺเจวํ เกตุเทโว โส ธมฺมามิเสหิ มานิโต
สมฺมา ตํ อนุปาเลตุ อาโรคฺเยน สุเขน จ
อิมาย เทวปูชาย อมฺหํ ขมนฺตุ เทวตา
เทวาภิราธนฺถาย พลิสกฺการวาหสา
(เอ่ยนามเจ้าของบ้าน) เมตฺตํ กโรนฺตุ เทวตา
เกตุเทวานุภาเวน สพฺพโสตฺถี ภวนฺตุ เต ฯ
5. คาถาบูชาฤกษ์
นโม นมัสสิตวา ข้าแต่พระศรีตรีพิธี พิสิษฐสุทธนวางค์ธิคุณอดุลยเทพ มหิทธิมเหศราธิบดี บรมปรเมศร์ สุรสรรพวสฤษฏิ์ดำรงศักดิ์ แลเอกอัครงชิรหัตถ์วัชรินทร์ ปิ่นสุทัศน์ทิพยเทวราช และอมรนิวาสน์ สัปตาพิธีฤกษ์ในภูมิโลกนี้ กาลบัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำพลีกรรม บูชายาคพิธี ตามคติประเพณีบรรวิสัยจารีตโบราณ ขอเดชานุภาพ อภินิหาร สรรพอำนาจธรรมสุจริต มหิทธิเทพทุกองค์จงปราสาทประสิทธิ กิจพิธีโดยอิสรานุภาพ ขอพรท้ายสหัสนัยเทวราชบรมราชอิสโกศาขอพร โลกปาลาธิปวรวิสิษฐ์ ขอพรเทพเรืองฤทธิ์สถิตทิพยสถานทั่วอมรขันธ์ สรรพอนันต์จักรวาฬภูมิภพไกวัล สรรพเกาะละเมาะฝั่งอรัญรุกขลัดดาวารี สิงขรชลถลา ดำเนินหนหาวสถานพิมานมาศอมรทิพย์เทวสำนัก ขอพเทพสุรารักษ์อันศักดิ์จงรงเทวกรุณา เชิญช่วยอภิบาลบำรุงรักษา (ชื่อเจ้าของบ้านหรือเจ้าภาพ) ให้เกษมสุขสำราญหฤทัยทุกอริยาบททุกเมื่อเทอญ ฯ
ชยฺยธโร หริเทวํ ชยฺย พฺรหฺมาธตรฏฺฐํ
สุริยจนฺทมา อาโป จ เทวปฐวี จ เตโช ตโย จาคมา
วารุณา เทวา โสโม จ ยสฺสา สหเมตตฺตา กรุณา
กายิกา อารกฺขเทว ยสสฺสิโน นมสฺสาม สุวตฺถิ โหติ ฯ
6. คาถาให้พรเจ้าภาพ, เจ้าการ
สพฺพทุกขํ วินสฺสติ สพฺพภยํ วินสฺสติ สพฺพโรหา วินสฺสนฺตุ พุทธเตเชน ธมฺมเตเชน สงฺฆเตเชน อินฺทเตเชน พฺรหฺมเตเชน เทวเตเชน ฯ
ทิวา ตปติ อามิจจฺโจ รตฺตืมาภาติ จนฺทิมา
สนฺนทฺโธขตฺตืโย ตปติ ฌายี ตปติ พฺราหฺมโณ
อถ สพฺพมฺโหรตฺตํ พุทโธ ตปติ เตชสา
เอเตน สจฺจวชฺเชน สุวตฺถิ ดหตุ สพฺพทา ฯ
สิทฺธิกิจฺจํ กิจอันใดควรชอบ ได้ประกอบก่อสร้าง อย่ารู้ร้างลุได้ดังประสงค์ เทอญนา
สิทฺธิกมฺมํ การใดดังใจผดุง บำรุงจงอย่าช้า อย่าเลิกอย่าโรยรา สิทธิได้พลันพลัน เทอญนา
สิทฺธิ ตถาคโต สัพพัญญูตรัสรู้จบ มารสยบหลีกแล้ว ขออุปัทวันตรายแคล้ว คลาดพ้นพูนเกษม แลนา
สิทฺธิเตโช ชโย นิจํ เดชเรื้องปรากฏ ผู้ทรงยศปองร้าย จงครรไลแตกพ่าย ผ่องพ้นภัยพาล เทอญนา
สิทฺธิลาโภ นิรนฺตรํ ลาภสิ่งอันใด จงหลั่งไหลหล่อล้น ดังหนึ่งท่อธารท้น อย่ารู้สิ้นสูญ เลยนา
สพฺพสิทฺธิ ภวนฺตุ เต พรสรรพจงประสิทธิ์ แด่ (เอ่ยนามเจ้าภาพ) อย่าช้า ให้เสร็จสมดังข้า พร้อมพร่ำให้ฉะนี้เทอญนา ฯ
เป็นอันเสร็จบูชาสรวงเทวดา พระภูมิเจ้าที่เพียงเท่านี้.
ทิศที่เป็นศรีของวัน
วันประกอบพิธี ทิศที่เป็นศรี
อาทิตย์ ใต้
จันทร์ ตะวันตกเฉียงใต้
อังคาร ตะวันตก
พุธ ตะวันตกเฉียงเหนือ
พฤหัสบดี อีสาน
ศุกร์ ตะวันออกเฉียงใต้
เสาร์ เหนือ
พุธ (กลางคืน) ตะวันออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น